003 ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖

เรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรม และเราก็ย้ำ ซ้ำซากกันไป เตือนกันเสมอ อย่าให้คำเตือนนั้น เป็นความด้านชา เราจะต้องสำนึก ในคุณค่าของคำสอน สำนึกในคุณค่า ของหลักการ ทฤษฎีความรู้ ถ้าเราไม่มีปริยัติ ไม่มีหลักการ ทฤษฎีความรู้ และเราก็ด้านชา โดยมานะ โดยถือดี ว่าเรารู้แล้ว ทั้งๆที่ เรายังไม่ได้ดี จากหลักการ จากกรรมวิธี จากทฤษฎีปริยัติ เหล่านั้น และเราก็ละเลย ปละปล่อย ไปแสวงหา ความรู้ใหม่ เรื่อยไป โดยของเก่า ที่เราเอง ก็ยังอยู่ในสักกายะ ของเรา เราก็ยังไม่ได้แก้ไข ปรับปรุงเลย เราอย่าไปดูถูก แม้จะรู้แล้วว่า เราก็ซ้ำซาก แล้วต้อง สำนึกตนเสมอว่า โอ้หนอ เราฟังเขา ก็รู้มานานแล้ว เรายิ่งแย่ลงทุกที ยิ่งรู้มานาน เรายิ่งฟังซ้ำ ก็เท่ากับ เตือนเราเสมอว่า รู้มานานแล้วนะ รู้มานานแล้วนะ แล้วไม่ได้สักทีนะ เราก็ควรจะต้อง เตือนตน อุตสาหะ วิริยะ รู้ความบกพร่อง รู้ความผิดพลาด อันนี้ของเรา อย่ากลายเป็นด้านชา อย่ากลายเป็น ปละปล่อย อย่ากลายเป็นผลักไส เพราะว่า การปละปล่อย ผลักไส ด้านชานั้น มันเป็น มานะจริงๆ มันเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง

เพราะฉะนั้น เราต้องยอมรับทุกที ผู้ที่เตือน ท่านหวังดี ผู้ที่พูด ท่านหวังดี แม้จะกล่าวซ้ำ เรารู้แล้วก็ตาม แต่เรายังทำ ไม่สำเร็จผล เรายังทำไม่ได้ ยังไม่ได้ผ่านไป

เราจะผ่านไปได้อย่างไร ในเมื่อมันยังเรียบร้อย แม้เราจะรู้ เราก็จะต้องเห็นดีว่า เออ! เราเองซิ เราโง่ ไม่พยายาม พิจารณาเนืองๆ เราไม่หยิบหลัก เราไม่หยิบ ส่วนบกพร่อง อันนี้ของเรา ขึ้นมาแก้ไข และเราก็ ปล่อยผ่าน ปล่อยผ่าน ทั้งๆที่รู้เหตุ รู้ผล รู้ความจริงอยู่ อย่างนี้ มันก็ทำให้เรา เป็นผู้ชักช้า หรือเป็น ผู้ได้แต่ศึกษา แล้วก็ได้แต่รู้ๆๆ ไปรู้มากก็ยิ่ง นอกจาก มีกิเลส ไม่เอาสิ่งที่น่าเอา และ ยังอยากไปแสวง หาความรู้ใหม่ กลายเป็น คนหลงรู้ เป็นคนหลงภูมิ เป็นคนหลงวิชา ก็เป็นมานะที่ ตะกละตะกลาม อวดดี อวดอยากได้ อยากเด่น อยากได้ ไอ้สิ่งที่มันเป็น ปริยัติ เท่านั้น มันไม่สมส่วน มันไม่สมดุล มันไม่เกิดบทที่จริง ได้มากรู้มาก ก็เลยเอาไปโก้ ไปคุย ไปเขื่อง เอาไปประดับตน เป็นการประดับตน ไปเฉยๆ สิ่งเหล่านี้ เราจะต้อง หัดพิจารณา ให้แยบคาย ทำความเห็นให้แจ้ง

เราจะรู้ใหม่เพิ่มเติม ก็ไม่เป็นไร แล้วก็อย่าให้ มันมีกิเลสหลง ว่าเราได้รู้มาก กลายเป็น คนรู้มาก กลายเป็น คนหลงตัว หลงตน ว่าเราใหญ่ ว่าเรารู้ เราเข้าใจเยอะ เรามีภูมิรู้สูง อย่าเป็นอย่างนั้น เราจะรู้เพิ่มเติม ก็ไม่เป็นไร และเราก็ต้อง เจียมตนว่า เราเพียงรู้ เท่านั้นนะ ตัวยังทำไม่ได้

อย่าว่าแต่รู้มากๆ เลย แม้แต่ต้นๆ พื้นๆ ฐานๆ รู้มาแต่เก่า แต่แก่ เรายังทำไม่ได้เลย เราก็ยิ่ง จะต้อง เจียมตนมาก จะต้องรู้ตัว รู้ตน

การปล่อยผ่าน ด้านชา แล้วก็ย้ำซ้ำซาก แล้วเราก็เกิด ไม่พอใจ ไม่อยากฟัง เบื่อหน่าย พวกน ี้เป็นเรื่องของ ทิฏฐิมานะ เป็นความเห็น ที่มันเกิดตัวเกิดตน แทนที่ว่า เรากระทำ คนอื่นเขาเตือนให้ เราก็จะต้องรู้ว่า เขาชี้ขุมทรัพย์ เขาย้ำ เขาซ้ำเขาซาก เขาทำให้เราเอง เป็นผู้ที่ ไม่ปล่อยปละละเลย ควรขอบคุณเขา แม้เราจะรู้ ก็ตาม

เพราะฉะนั้น ในเรื่องการพิจารณา ในเรื่องการพูด ในเรื่องการเตือนกัน ติงกัน เรื่องเก่า เรื่องซ้ำ เรื่องซาก อย่างไร ก็ต้องมอง ในความหมาย ประเภทนี้ ประเด็นนี้ ให้สำคัญ เราจะกลายเป็น คนไม่ช่างเบื่อ ไม่ช่างเซ็ง เพราะว่า ตัวกิเลส ตัวต้นฐาน ตัวต้นพื้น ก็คือ ตัวกิเลสมานะ ดังกล่าวแล้ว มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ มันถือตัว มันไม่อยาก ให้ใครมาพาดพิง ไม่อยากให้ใคร มากล่าวกราด กล่าวกล้า ไม่อยากให้ใคร มาสัมผัส ผ่านเรา มันถือตัว แล้วก็ถือตัวว่ารู้ ไม่ต้องบอกฉัน ก็ได้น่า อะไรอย่างนี้ พวกนี้ เป็นต้น

ที่จริงมันมีเชิงละเอียด มากกว่านี้ ที่มันทำให้เรา กลายเป็นคนที่ เราไม่เอาถ่าน เพราะฉะนั้น นอกจาก กำลังมันเขี้ยว กับ แหม! ภูมิรู้เราก็ กำลังอร่อย ในจุดนี้ แล้วเราก็เอา ของเรานี่ มาสาธยาย ไม่ใช่

สอนต้องดูบุคคลอื่น แล้วเราก็ กำหนดฐานะ ของบุคคลอื่น เออ! เขารู้ต้น กลาง ปลาย ขนาดไหน ถ้ามันยังไม่มีต้น กลาง ปลาย เราสอนต้นก่อน เรายังไม่รู้ว่า เอ๊! เขาสูงแค่ไหน ไล่ต้นมาก่อน คนไม่มีมานะ ฟังต้น เขาก็ฟังได้ เขาต่อขึ้น เขาก็จะโยงใยไป เราก็จะรู้ อ๋อ! คนนี้ มีภูมิสูงขึ้นมา เราก็เขยิบ ขึ้นมาตามนั้น ถ้ายังไม่รู้ ก็ทำต้นก่อน อย่าไปไม่รู้ แล้วก็สอนสูงเลย สอนสูง เลยจับไม่ติด ไม่ศรัทธากันเลย และก็ไม่รู้เรื่อง รู้ราวกันเลย ถ้าสอนต่ำมา ไล่ๆ เป็นภูมิไล่ขึ้นมา ก็จะมีระดับ เพราะฉะนั้น

ที่ท่านรู้จริง ผู้ที่สูงจริง ท่านไม่อยาก สอนสูง ทันทีหรอก ท่านสอนต่ำ มาก่อน แล้วสอนไล่ กลางไป ท่านจะหมุนวนเวียน พูดซ้ำ พูดซาก แต่ระยะต่ำๆ อย่าไปดูถูก คนสอนภูมิต่ำนะ ว่าเป็น คนที่ไม่สูง และไปหลงคนสอน แต่ภูมิสูงๆ โดยไม่สอนภูมิต่ำ นั่นแหละ ได้หลงครู ที่ผิดพลาดแล้ว

ครูที่ขี้หลงตัวเอง ก็จะสอนแต่ ภูมิสูงๆ ทั้งๆ ที่ตัวเอง บางทีไม่มี ภูมิจริงหรอก ต้นๆ ก็ไม่ได้ปฏิบัติ แต่มีแต่ภูมิรู้ ที่มันรู้ได้ เหมือนกันนี้ นี่ปฏิภาณ ไอ้นี่มันเป็น ภูมิรู้ชั้นสูง ไอ้นี่มันเป็น ภูมิรู้ชั้นกลาง ชั้นต่ำ อยากจะอวดโอ่ โชว์ตัว ก็คุยแต่เรื่องสูงๆ อย่างนี้ ก็มีแยะ เพราะฉะนั้น

จะต้องดูความจริง ผู้รู้จริง ท่านจะพยายาม ไล่เลียงดู เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ซ้ำซาก เบื้องต้นนี้แหละ เพราะว่า มีมาใหม่มาเก่า ยิ่งหมู่กลุ่ม กว้างๆ โตๆ มันก็ต้อง พูดเรื่องต่ำ พูดเรื่อง ที่ให้ผู้อื่นเขาอีก ที่เข้ามาใหม่ ก็ตาม หรือมีจำนวน อยู่ในพื้นฐานนี้เยอะ ก็ต้องให้ ผู้ที่เยอะก่อน เพราะฉะนั้น สูงๆนี้ ก็ค่อยๆได้ กาลเทศะ หรืออยู่หมู่กลุ่มใหญ่ๆนี่ สูงๆจริงๆ ไม่ค่อยได้สอนหรอก หมู่กลุ่มใหญ่ๆ เพราะฉะนั้น จะได้สอนพื้นฐาน วันเวลา ในนักขัตฤกษ์ มีคน เวียนไปเวียนมา มีใหม่ มาเรื่อยเสมอ มันก็ซ้ำซาก อยู่แต่อันเก่า แต่ก็เผื่อคนเก่า คนเก่าที่สอน ที่ได้สูงมาแล้ว ก็เผื่อ

เพราะฉะนั้น ก็ซ้ำซากคำเก่า ก็คือ ซ้ำซาก เรื่องต้นๆ คนใหม่มา ก็ซ้ำซากเรื่องต้น เรื่องตื้น มันก็เป็นคำเก่า แต่คนเก่าที่สูง จะต้องหาใหม่ ให้บ้าง ก็แบ่งไป ซึ่งจะมีจำนวนน้อย มันก็ค่อยๆ กระเถิบ ขยับกันขึ้นไป ขึ้นไป

ถ้ารู้ความหมายนี้แน่แล้ว เราจะไม่เซ็ง เราจะไม่เบื่อ เราจะรู้สภาพจริงว่า อ้อ! ผู้รู้ ท่านต้อง เผื่อแผ่ถ้วนทั่ว ไม่ใช่เอาแต่ตัวเรา เราสูง ท่านก็สอนแต่ตัวเรา คนเดียวไม่ได้ เราก็สอนเผื่อไป ถ้วนทั่ว ทุกตัวคน ถึงกาลเทศะ เราก็ว่าไป เพราะฉะนั้น เรายิ่งจะจำแม่น ในเรื่องที่เก่า ที่ซ้ำซาก ถ้าเราไม่มี การผลักไสแล้ว ฟังแล้วฟังเล่า แก้ไขแล้ว แก้ไขเล่า หรือแม้แต่ ในเรื่องตื้น เรื่องต้น มันยังมี เรื่องละเอียด ซอยลึก ลงไปอีก เราก็จะรู้ได้ลึกซึ้ง ต่อไปอีก การศึกษา ก็มีสอดร้อย สอดประสาน เป็นคัมภีราวภาโส หรือเป็น สภาพเชิงซ้อน ดังในที่กล่าวนี้เสมอ ขอให้เราเข้าใจ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ให้ดีๆ

เราจะเกิดคุณค่า ในการเรียนรู้ธรรมะ ทั้งซ้ำซาก ทั้งขยายใหม่ วันแล้ววันเล่า เราจะได้ศึกษา ทั้งปริยัติปฏิบัติ อย่าประมาท ทำความจริงให้เกิด แม้ฐานต้น ฐานตื้นอะไร อย่าไปแสวงหา แต่ความรู้ กลายเป็นนักรู้ แต่ไม่บรรลุอะไรเลย ก็ผู้ที่ได้แต่รู้ เต็มหูเต็มหัว แต่ไม่บรรลุอะไรเลย แม้แต่ในชาตินี้ ท่านเรียก ผู้นั้นว่า ปทปรมะ

ก็คิดว่า ก็คงจะสะดุ้งสะเทือน ในคำนี้ ไม่ได้หมายความ ปทปรมะ คนเรียน ไม่ได้โง่ๆ ไอ้อย่างงั้น มันก็จริงอยู่ด้วย แต่แท้จริงแล้ว ปทปรมะ ที่แท้ จริงๆนั่นคือ ผู้ที่ ฉลาดรู้ เรียนรู้มาก แต่ไม่มีอะไรบรรลุเลย นั้นคือ ปทปรมะ ผู้ที่ต้องให ้เต่าปลากินไป ชั่วชาติหนึ่ง ชั่วชาติหนึ่ง เป็นโมฆบุรุษแท้ๆ ขอให้สังวร ระวังให้มาก เราจะได้นำพากันไปสู่ที่ดี

เพราะฉะนั้น ในการสอนทุกที ทุกครั้ง พูดอันนี้ ขึ้นมา ก็จะเตือน เพราะจะมีคน รู้สึกระลึกอย่างนี้ แล้วก็เบื่อหน่าย อย่างนี้มีอยู่ เพราะฉะนั้น การเบื่อหน่าย ที่ไม่เข้าท่า จะพานพาให้เรา กลายเป็น ผู้ตกต่ำ เสียท่า ก็ขอให้ระวังเอาไว้ ระแวงระวัง เอาไว้ให้ดี แล้วก็กระทำตน ให้สอดคล้อง สิ่งใด ที่แม้เราจะได้แล้ว ก็อย่าไปถือตัว เป็นมานะว่า เขาสอนเขาพูด มีแต่เรื่องเก่าๆ ซ้ำๆ ขออย่าไปเป็นอย่างนั้น ดูด้วยว่า ผู้จะสอนสูงไม่ได้ ก็ต้องอภัยท่าน

ผู้ที่สอนสูงได้ด้วย ท่านจะมีทั้งต่ำ ทั้งกลาง ทั้งสูงไป เสมอๆๆ ตามกาลเทศะ ถ้าหมู่ใหญ่ ก็สูงมาก ก็ไม่ค่อยได้ละ มีสูงขึ้นไปน้อย แต่ถ้าหมู่น้อยสูงมาก ก็จะมีเป็นกาลเทศะ ฐานะอย่างนั้น ขอให้เข้าใจ ให้ลึกๆ ละเอียด อย่างนี้แล้ว ทุกคนศึกษาไปด้วยกัน พวกนี้ จะนำพากัน ไปสู่ที่สูง อย่างมีระบบ มีระเบียบ มีผู้สืบทอด ต่อทอด เป็นขั้นเป็นตอน เป็นชั้นเป็นเชิง ไปอย่างงดงาม เหมือนมาลัย ที่ร้อยแล้วด้วยดี ที่มีศิลปะสวยสด เราจะพากันเจริญ ประดุจดัง มาลัยพวงงามได้ เช่นนั้น

สาธุ.